Dead Pixel บนจอแอลซีดีแก้ไขได้

จุดสีดำปริศนาบนแอลซีดีที่ถูกเรียกว่า “Stuck Pixel” หรือ “Dead Pixel”

จุดพิกเซลที่มีรูปร่างแตกต่างกันออกไป เช่นเป็นสี่เหลี่ยม หรือวงกลม ตามประเภทของจอ (เครดิต: Wikipedia)

ภาพจุดพิกเซลสีแดง เขียว และน้ำเงินของ LCD Monitor (เครดิต Wikipedia)

การใช้ซอฟต์แวร์แก้ปัญหา Dead Pixel

หลายคนเซ็งเมื่อเห็น"จุดสีดำ"ที่เช็ดเท่าไหร่ก็ไม่ออกซะทีบนหน้า จอแอลซีดีคู่ใจ วิกฤตจุดดำบนจอแอลซีดีถูกเรียกว่า “Dead Pixel” บ้าง “Stuck Pixel” บ้าง ต่อไปนี้คือวิธีแก้ไขเบื้องต้นที่อาจทำให้จุดดับบนจอหายไปโดยที่คุณไม่ต้อง ส่งซ่อมให้ยุ่งยาก

ถึงแม้ว่าเทคโนโลยีการผลิตจอ LCD จะเดินทางมาไกลจนกระทั่งมี “วุฒิภาวะ” ในระดับหนึ่งแล้วก็ตาม และกระบวนการผลิต LCD Panel ในปัจจุบันก็มีความแม่นยำสูงมาก แต่ด้วยข้อเท็จจริงที่ว่าจอ LCD นั้นประกอบไปด้วยพิกเซลนับแสนหรือนับล้านจุด จึงเป็นไปได้ที่จุดพิกเซลจำนวนหนึ่ง (จากจุดนับล้านจุด) จะเสียหายจากการผลิต หรือเสื่อมไปก่อนเวลาอันควร ในขณะที่จุดพิกเซลที่เหลือยังคงทำงานได้ตามปกติ

คำว่า “พิกเซล” (Pixel) เป็นคำผสมที่เกิดจากคำว่า Pix (“pictures”) และ el (“element”) หมาย ถึงหน่วยเล็กที่สุดของภาพที่แสดงบนจอคอมพิวเตอร์ หรือบนกระดาษ หรือพูดง่ายๆ ว่าเป็นหนึ่งใน “จุด” เล็กๆ หลากสีที่เรียงชิดติดกันจนเป็นภาพที่เราสามารถรับรู้ได้นั่นเอง จอภาพที่เราใช้อยู่ในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นจอ CRT, LCD หรือ Plasma ต่างก็ประกอบไปด้วยจุด “พิกเซล” สีแดง น้ำเงิน และเขียว เรียงชิดติดกันเป็นจำนวนมหาศาลทั้งสิ้น และจุดต่างๆ เหล่านี้ก็จะดับและสว่างตามคำสั่งของวงจรควบคุม เพื่อเปล่งแสงสีต่างๆ ออกมา และเมื่อประกอบกับจุดสีต่างๆ ที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียง ก็จะทำให้เกิดภาพที่เรามองเห็นได้บนจอแสดงผล
จุดพิกเซลอาจมีรูปร่างแตกต่างกันออกไป เช่น สี่เหลี่ยม หรือวงกลม ขึ้นอยู่กับประเภทของจอ
เจ้าของจอ LCD หลายคนเคยพบปัญหา Stuck Pixel หรือ Dead Pixel อาการของปัญหานี้มี 2 แบบ ได้แก่

อาการแบบที่ 1: เมื่อจอแสดงภาพสีดำสนิท จะสังเกตเห็นว่าจุดบางจุดบนจอสว่างอย่างถาวร โดยจุดที่สว่างอาจเป็นสีแดง น้ำเงิน หรือเขียว ก็ได้ และถึงแม้จอจะเปลี่ยนไปแสดงภาพสีอื่นๆ จุดสว่างดังกล่าวก็ยังสว่างค้างเป็นสีเดิมอยู่ เราเรียกอาการนี้ว่า “Stuck Pixel” แต่คนส่วนใหญ่มักเข้าใจว่า “Stuck Pixel” คือ “Dead Pixel” ซึ่งจริงๆ แล้วมันต่างกันอย่างสิ้นเชิง
อาการแบบที่ 2: จุดบางจุดบนจอดับสนิทอย่างถาวร ไม่ว่าจอจะแสดงภาพใดอยู่ก็ตาม ซึ่งเราเรียกพิกเซลที่มีอาการนี้ว่า “Dead Pixel” หรือพิกเซลที่ “ตาย” แล้วนั่นเอง บทความนี้จะนำเสนอวิธีการแก้ไข “Stuck Pixel” เท่านั้น แต่ไม่รวมถึงการแก้ไข “Dead Pixel”

วันนี้ LCDSPEC ขอนำเสนอเทคนิคต่างๆ ในการกำจัด Stuck Pixel ครับ แต่ ก่อนจะศึกษาเทคนิคการกำจัด Stuck Pixel คุณควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการปฏิบัติตามขั้น ตอนในบทความนี้เสียก่อน ได้แก่

- ถ้าผู้ผลิตจอ LCD ของคุณกำหนดเงื่อนไขการรับประกันที่ครอบคลุมถึง Stuck/Dead Pixel อยู่แล้ว เมื่อจอของคุณเกิด Stuck pixel ขึ้น คุณควรปรึกษาบริษัทผู้ผลิตเสียก่อน และไม่ควรซ่อม Stuck pixel ด้วยตนเอง

- เทคนิคการกำจัด Stuck Pixel เป็นเทคนิคที่รวบรวมมาจากแหล่งข้อมูลต่างๆ และเป็นเทคนิคที่ได้รับการพิสูจน์ว่าสามารถแก้ไขปัญหาได้ในหลายๆ กรณี LCDSPEC จะไม่รับผิดชอบใดๆ ต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นกับจอ LCD จากการปฏิบัติตามขั้นตอนต่างๆ ในบทความนี้

- หลีกเลี่ยงการเปิดจอ LCD เพื่อดูอุปกรณ์ภายใน เพราะจะทำให้จอของคุณสิ้นสุดการประกันจากบริษัทผู้ผลิตโดยทันที

- หากคุณใช้เทคนิคที่ต้องใช้น้ำ กรุณาหลีกเลี่ยงการทำให้อุปกรณ์ต่างๆ ของจอ LCD และเครื่องคอมพิวเตอร์เปียกน้ำ

- หลายๆ คนกล่าวว่าการใช้แรงกดบนเม็ด Pixel ของจอ LCD แล้วจะทำให้จอ LCD เสียหายมากขึ้นกว่าเดิม (ถึงแม้ว่าจะเป็นคำกล่าวที่ไม่ได้รับการพิสูจน์ก็ตาม) หากคุณปฏิบัติตามวิธีในบทความนี้อย่างเคร่งครัด ก็จะสามารถหลีกเลี่ยงความเสียหายดังกล่าวได้

- จอ LCD ประกอบไปด้วยผลึกแก้วหลายๆ ชั้น (layer) ซึ่งมีความละเอียดและบอบบางเป็นอย่างมาก การใช้แรงกด หรือแตะ อาจทำให้ชิ้นส่วนบอบบางเหล่านั้นเกิดความเสียหายได้ คุณจึงต้องยอมรับความเสี่ยงดังกล่าวหากคุณต้องการปฏิบัติตามขั้นตอนที่นำเสนอในบทความนี้

หากคุณยอมรับทุกข้อที่กล่าวมา ต่อไปนี้คือ 4 เทคนิคเพื่อการกำจัด Stuck Pixel ที่คุณสามารถทำได้ด้วยตัวเอง ได้แก่ การใช้ซอฟต์แวร์ การใช้แรงกด การแตะหรือเคาะเบาๆ และการใช้ความร้อน

##เทคนิคการใช้ Software

เทคนิค นี้ตั้งอยู่บนสมมติฐานที่ว่า Stuck Pixel สามารถกลับเข้าสู่ภาวะปกติได้เมื่อมันถูกเปิด/ปิด ซ้ำๆ กันอย่างรวดเร็ว คุณควรลองใช้เทคนิคนี้ก่อนเป็นอันดับแรก และหากเทคนิคนี้ไม่สามารถแก้ปัญหาให้คุณได้ จึงค่อยเปลี่ยนไปปฏิบัติตามเทคนิคถัดไป เทคนิคการใช้ Software นี้ใช้ได้ดีกับ LCD Monitor แต่ก็ไม่ผิดกติกาอะไรหากคุณจะนำเครื่องคอมพิวเตอร์ไปต่อกับ LCD TV แล้วรัน Software เหล่านี้

คุณสามารถดาวน์โหลดโปรแกรมช่วยแก้ไข Stuck Pixel ได้จาก Website ต่อไปนี้:

JScreenFix – เว็บไซท์ที่ใช้ Java Applet ซึ่งเป็นโปรแกรมเล็กๆ ที่จะช่วยขจัด Stuck pixel โดยการเปิด/ปิด พิกเซลแต่ละจุดบนจอเป็นจำนวน 60 ครั้งต่อวินาที
JeffPatch.com blog – สำหรับคนที่ใช้เครื่อง Mac ที่ Blog นี้ก็มีวีดีโอภาพกระพริบจาก Sony ที่อาจช่วยแก้ไข Stuck Pixel ได้
DPT 2.20 – โปรแกรมบน Windows ที่สามารถช่วยให้คุณค้นหา Stuck pixel ได้ง่ายขึ้น และมี “Pixel Exerciser” ที่ช่วยให้ Pixel ที่เสียหายกลับมาทำงานได้อย่างเดิม
UDPixel 2.1 – ฟรีแวร์บน Windows ที่ช่วยคุณค้นหา และแก้ไข Stuck Pixel
LCD Scrub – Screensaver สำหรับเครื่อง Mac ที่แสดงภาพกระพริบบนจอ เพื่อช่วยแก้ไข Stuck Pixel และแก้ไขอาการ Burn-in
##เทคนิคการใช้แรงกด

1.ปิดจอ LCD ของคุณ
2.นำผ้านิ่มๆ ชุบน้ำหมาดๆ (ถ้าใช้น้ำอุ่นจะได้ผลดีขึ้น และห้ามใช้ผ้าเปียก) มาห่อบริเวณหัวปากกาลูกลื่น, ดินสอ, ไขควงเล็กๆ หรืออุปกรณ์อื่นๆ ที่มีลักษณะคล้ายกัน แต่ต้องเป็นอุปกรณ์ที่ไม่มีหัวแหลมคมที่จะทำให้จอ LCD เป็นรอยได้ เราขอแนะนำให้ใช้ปากกา Stylus ที่มากับเครื่อง PDA หรือ Smartphone สำหรับการนี้
3.ใช้ยาง หรือเชือกเส้นเล็กๆ มัดผ้าที่ห่อบริเวณหัวปากกาไว้ เพื่อไม่ให้ผ้าหลุดออกมาในขณะที่คุณนำปากกาไปกดบนจอ
4.นำ ปากกาที่เตรียมไว้ไปกดเบาๆ ที่ Stuck Pixel โดยพยายามกดให้ตรงกับจุด Pixel ที่เสียหายมากที่สุด การกดผิดพลาดอาจทำให้จุด Pixel ที่อยู่ข้างเคียงเสียหายตามไปด้วย
5.ระหว่างที่กด Stuck Pixel ให้กดปุ่ม Power ของจอ LCD เพื่อเปิดให้จอทำงาน
6.นำปากกาออกจากจอ แล้วตรวจสอบดูว่า Stuck Pixel หายเป็นปกติหรือไม่ หากยังไม่หายเป็นปกติ ให้ทำตามขั้นตอนข้อ 4 และ 5 อีกครั้ง โดยค่อยๆ เพิ่มแรงกดให้มากขึ้นทีละนิด

##เทคนิคการแตะ/เคาะเบาๆ ที่ Stuck Pixel

1.นำจอ LCD มาต่อเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ และเปิดจอ LCD และเครื่องคอมพิวเตอร์
2.ใช้ โปรแกรมแต่งภาพสร้างภาพสีดำล้วน ที่มีขนาดเท่ากับจอ LCD ของคุณ เช่นหากคุณใช้จอ Full HD ก็ควรสร้างไฟล์ภาพสีดำที่มีขนาด 1,920 x 1,080 พิกเซล เป็นต้น แล้วนำภาพสีดำที่สร้างขึ้นมาแสดงแบบเต็มจอ ซึ่งการแสดงภาพสีดำนี้จะทำให้คุณสามารถมองเห็น Stuck pixel ได้อย่างชัดเจน
3.ใช้ ปากกาที่มีไม่มีหัวแหลมคม หรือใช้ Stylus ที่มากับเครื่อง PDA/Smartphone แตะเบาๆ ที่ Stuck Pixel ไม่ควรใช้แรงกดมากเกินไป แต่แรงกดนั้นจะต้องมากพอที่จะทำให้เม็ดพิกเซลที่ถูกแตะกระพริบแสงสีขาวๆ ในขณะที่ถูกแตะ หรือกล่าวได้ว่าหากเม็ดพิกเซลไม่กระพริบแสงสีขาว แสดงว่าคุณยังแตะมันไม่แรงพอนั่นเอง
4.พยายามแตะเป็นจังหวะอีก 5-10 ครั้ง โดยค่อยๆ เพิ่มแรงกดทีละนิด จนกว่าอาการ Stuck Pixel จะหายไป
5.นำ ไฟล์รูปภาพสีขาวล้วนแบบเต็มจอมาแสดง แล้วดูว่าอาการ Stuck Pixel หายไปหรือไม่ และตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณไม่ได้ทำให้ Pixel ข้างเคียงเกิดความเสียหาย

##เทคนิคการใช้ความร้อน

เทคนิค นี้มีประโยชน์ในกรณีที่เม็ด pixel กลายเป็นสีขาวหรือสีดำในบริเวณกว้าง และสามารถใช้ได้ดีกับเครื่องคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ้ค (แต่ก็ใช้ได้กับจอ LCD ทั่วไปได้เช่นกัน) การใช้เทคนิคนี้ มีความเสี่ยงที่จะทำให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิคภายในจอ หรือภายในเครื่องคอมพิวเตอร์โน๊คบุ้คเสียหายจากความร้อนได้ คุณจึงควร Backup ข้อมูลสำคัญไว้ก่อนจะลงมือปฏิบัติ และเทคนิคนี้อาจไม่ช่วยให้เม็ด Pixel ที่เสียหายเป็นบริเวณกว้างกลับมาเป็นปกติได้ทั้งหมด หรือถึงแม้จะแก้ไข Stuck Pixel ได้สำเร็จ จอของคุณก็อาจกลับมามีอาการเดิมอีกครั้ง

คุณสามารถแก้ไข Stuck Pixel โดยใช้ความร้อนตามขั้นตอนต่อไปนี้:

1.เทคนิค นี้จะต้องใช้เวลานานหลายชั่วโมง หรือเป็นวัน เราจึงแนะนำให้คุณเสียบปลั๊กเครื่องคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ้คแทนการใช้พลังงานจาก แบตเตอรี่
2.ไปที่ Power Settings ใน Control Panel และตรวจสอบให้แน่ใจว่า Windows จะไม่ดับจอ LCD และจะไม่เข้าสู่โหมด Standby หรือ Hibernate เมื่อถึงเวลาที่กำหนดไว้ (ตรวจสอบให้แน่ใจว่าเครื่องและจอจะถูกเปิดและทำงานตลอดเวลานั่นเอง)
3.กดหน้าจอของโน๊ตบุ้กให้เข้ามาใกล้ keyboard เล็กน้อย แต่ต้องไม่ใกล้ถึงขนาดที่ทำให้เครื่องหยุดทำงาน หลังจากนั้นให้วางโน๊ตบุ้คไว้ในที่แคบๆ ที่อากาศและความร้อนถ่ายเทไม่สะดวก เช่นตู้เล็กๆ หรือลิ้นชัก
4.ปล่อย ให้โน๊ตบุ้คของคุณทำงานอยู่อย่างนั้นหลายๆ ชั่วโมง หรือหลายๆ วัน ควรหมั่นเข้าไปตรวจสอบบ่อยๆ ว่า Stuck Pixel หายไปหรือไม่ การใช้ความร้อนจะทำให้ของเหลวในผลึก LCD ไหลอยู่ในเม็ด Pixel ได้เต็มเม็ดเต็มหน่วยยิ่งขึ้นในบางพื้นที่ หลังจากที่ก่อนหน้านี้ของเหลวดังกล่าวอาจจะไม่ตอบสนองต่อคำสั่งของวงจรควบ คุม

ไม่มีความคิดเห็น: