อภิสิทธิ์หนุนใช้ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส ลดปัญหาลิขสิทธิ์

รายงานข่าวจากที่ประชุมคณะหัวหน้าส่วนราชการระดับปลัดกระทรวง ครั้งที่ 7/2552 ที่มีนายอภิสิทธิ์ เวชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน และปลัดกระทรวงจากทุกกระทรวงเข้าร่วมประชุม ที่ประชุมได้หารือแนวทางการสนับสนุนการใช้ทรัพย์สินทางปัญญาอย่างถูกต้อง โดยเน้นให้ใช้ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส เพื่อหลีกเลี่ยงการละเมิดลิขสิทธิ์ และลดค่าใช้จ่าย ซึ่งประเด็นนี้กระทรวงศึกษาธิการมีโครงการจะซื้อคอมพิวเตอร์ 1.4 ล้านเครื่อง หากได้งบประมาณไทยเข้มแข็ง 2 ถ้าใช้ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส จะประหยัดงบประมาณได้มหาศาล

โดยกระทรวงไอซีทีจะเร่งดำเนินการทั้งการส่งเสริมซิป้าจัดการเรื่องซอฟต์แวร์ โอเพนซอร์ส และจะของบประมาณไทยเข้มแข็ง 2 ประมาณพันล้านบาท เพื่อขยายโครงข่ายจีไอเอ็นให้ลงลึกถึงระดับอำเภอ จากปัจจุบันเชื่อมโยงถึงแค่ระดับจังหวัดเท่านั้น

Firefox ติดโผบราวเซอร์ ช่องโหว่เพียบ

ายงานข่าวนี้อาจจะทำให้ใครหลายคนแปลกใจเล็กน้อย นั่นก็คือ บราวเซอร์ไฟร์ฟอกซ์ (Firefox) กลายเป็นบราวเซอร์ที่มีช่องโหว่ของระบบรักษาความปลอดภัยมากที่สุดในปี 2009 โดยมีช่องโหว่ที่พบมากถึง 44 แห่งเทียบกับ 6 แห่งของซาฟารี (Safari) และแค่ 2 แห่งในโอเปร่า (Opera) โดยบริษัทที่จัดทำรายงานดังกล่าวชื่อว่า Bit9

บรรทัดฐานที่ใช้ในการจัดอันดับความไม่ปลอดภัยครั้งนี้มีอยู่ว่า โปรแกรมที่ใช้ในการพิจารณาจะต้องทำงานบนระบบปฏิบัติการ Windows และต้องมีการพบช่องโหว่ของระบบรักษาความปลอดภัยอย่างน้อยหนึ่งรายการที่ถูก จัดอันดับว่า มีความเสี่ยงสูง (High) โดยอ้างอิงจากฐานข้อมูลของ NIST นอกจากนี้โปรแกรมเหล่านั้นจะต้องไม่ได้รับการอัพเดตผ่านระบบแพตช์ซอฟต์แว ร์ขององค์กร อย่างเช่น Windows SMS และประการสุดท้าย แอพพลิเคชันเหล่านั้นจะต้องใช้งานโดยผู้ใช้ทั่วไป ซึ่ง IE ไม่ได้อยู่ภายใต้บรรทัดฐานการจัดอันดับในครั้งนี้

"ในขณะที่ Internte Explorer ไม่สอดคล้องกับบรรทัดฐานทีใช้พิจารณา แต่ล่าสุดก็เพิ่งมีข่าวออกมาว่า พบการโจมตีด้วยช่องโหว่ Zero-Day ที่พบใน IE 6 และ 7 ส่วน IE 8 ได้รับการแพตช์ช่องโหว่ไปเรียบร้อยแล้ว" Bit9 กล่าว "ช่องโหว่ในระบบรักษาความปลอดภัยของ Firefox จะรวมถึงความสามารถในการที่แฮคเกอร์จะใช้จาวาสคริปท์ในการสั่งรัน โค้ดอันตรายได้"

นอกจากไฟร์ฟอกซ์แล้ว โปรแกรมตัวอืนๆ ที่ติดโผช่องโหว่เพียบก็จะมี Adobe Flash Player (7 ช่องโหว่), Adobe Reader (35 ช่องโหว่) ประเด็นก็คือ รายงานฉบับนี้ได้ถูกเผยแพร่ออกมาก่อนการพบช่องโหว่ล่าสุดใน Adobe Reader ที่ได้มีการนำเสนอข่าวไปแล้วเมื่อต้นสัปดาห์ ตามด้วยโปรแกรม Quicktime ของแอปเปิ้ล Java runtime ของ Sun และ RealPlayer

Atom เครียด Core i3 กับ Mobile Core i5 จ่อคิวตัดหน้า

ซึ่งวันนี้ทาง Chipzilla ได้นำมาเปิดเผยอย่างเป็นทางการกับเสียที โดยจะมีทั้ง Core i3 และ Mobile Core i5 ซึ่งจะออกสู่ตลาดภายในวันที่ 7 มกราคม 2010 นี้ และก็ไม่ต้องเดาเลยว่า ตัวเครื่องก็คงตามมาติดๆแน่นอน แม้ว่าตัว Lynnfield(ชื่อสถาปัตยกรรม Core i5) Core i5 ของตัวเดสก์ท็อปจะเป็น Quad-Core แต่สำหรับสองตัวใหม่นั้น Core i3 และ Mobile Core i5 จะเป็น Dual-Core และนับได้ว่าเป็นชิบ Intel สองตัวแรกเลยที่จะมาพร้อมกับตัว GPU Core ทาง Intel ตั้งชื่อให้ว่า “Intel HD Graphic” สำหรับตัวกราฟิกใหม่นี้ นับว่าดีพอที่จะเรียกว่าเป็นไฮเอนของพวก HTPC เลย แต่ก็ยังสามารถใส่พวกกราฟิกการ์ดแบบสลับได้เเหมือนเดิม ดังนั้นก็อย่าคิดมาก อิอิ โดยแม้ว่าชิบทั้งสองตัวนี้จะใช้เทคโนโลยีแบบ Hypertreading ใหม่ล่าสุดจาก Intel ในตัว Mobile i5 นั้นก็จะสามารถใช้ฟีเจอร์ Turbo Boost Core สำหรับการ Overclock ได้เช่นเดียวกับตัว i5 และ i7 ของเดสก์ท็อป และยังสามารถเปลี่ยนการใช้งานไปเป็นแบบ Single Core ได้อีกด้วย เวลาต้องการใช้งานก็ค่อย boost ขึ้นมาคืน



เราก็ได้แต่รอดูทั้งโน๊ตบุ๊คและเดสก์ท็อปที่ใช้ Core i3 และ i5 ที่น่าจะมาในช่วงก่อนงาน CES ซักวันสองวันเช่นกัน และแม้ว่ายังไม่ได้ทำการทดสอบอย่างจริงๆ ตัว Mobile Core i5 นั้นก็คาดว่าจะสามารถเล่น Call of Duty 4 ได้อย่างลื่น หัวทิ่มแน่นอน ขณะที่ตัวต่ำกว่าหน่อย Core i3 ก็จะไว้สำหรับรันหนัง Blu-ray หรือเล่น World of Warcraft ได้ไม่เลวเลยทีเดียว แต่ถ้าได้เทสจริงๆเดี๋ยวจะเอาเลขมาบอกอีกที

คาดว่าถ้ามาจริงๆนั้น งานคอมมาร์ทต้นปีมีอะไรดีๆแน่นอน ใครยังตัดสินใจไม่ได้ซื้อโน๊ตบุ๊คในช่วงนี้ไม่ได้ ก็รอดูกันซักนิดนะครับ ถ้าได้ผลเทสเมื่อไหร่ทาง NBS จะนำรีวิวก่อนใครแน่นอน แต่สำหรับคนที่ซื้อไปแล้วก็ไม่ต้องน้อยเนื้อตำใจนะครับ ฮ่าๆ

แฮคเกอร์ โจมตี ทวิตเตอร์

ในทวิตเตอร์หน้าเว็บก็เปลี่ยนเป็นสีดำพร้อมแสดงรูปธงสีแดงไปซะแล้ว โดยข้อความที่ปรากฎอ้างว่าเป็นกองทัพไซเบอร์ชาวอิหร่าน พร้อมข้อความประกาศความสำเร็จในการแฮคเว็บไซต์ (THIS SITE HAS BEEN HACKED...)

ความจริงปัญหาทางด้านเทคนิคของ Twitter ได้เกิดขึ้นมาตั้งแต่เมื่อวานแล้ว แต่ผู้ใช้ส่วนใหญ่คิดว่า มันก็คงจะเป็นปัญหาเดิมๆ ที่เริ่มจะคุ้นเคยกัน เพราะก่อนหน้านี้ทวิตเตอร์ประสบปัญหาอืดจนล่มมาแล้วถึง 3 ครั้ง 3 คราในปีนี้ อย่างไรก็ตาม ประเด็นของปัญหาที่พบครั้งล่าสุดมันร้ายแรงกว่าทุกครั้ง เนื่องจากมันเป็นการแฮคเข้าไปในระบบ พร้อมทั้งโพสต์ข้อความไว้บนเว็บทวิตเตอร์ด้วย




สำหรับข้อความที่แสดงเป็นภาษาอะราบิคที่เห็นบนหน้าจอ เมื่อถอดคามออกมาแล้ว ได้ความหมายประมาณว่า

"กองทัพไซเบอร์ชาวอิหร่าน

เว็บไซต์นี้ได้ถูกแฮคโดยกองทัพไซเบอร์ชาวอิหร่าน

IRANIAN.CYBER.ARMY@GMAIL.COM

สหรัฐฯ คิดว่า พวกเขากำลังควบคุม และจัดการอินเทอร์เน็ตด้วยตัวเขา แต่พวกเขาไม่ใช่ เราต่างหากที่ควบคุม และจัดการอินเทอร์เน็ตด้วยอำนาจของเรา ดังนั้น อย่าพยายามเร่งเร้าให้ประชาชนชาวอิหร่านต้องลงมือ..."

ขณะนี้ทวิตเตอร์ได้กลับมาใช้งานอีกครังหนึ่งแล้ว อย่างไรก็ตาม เพื่อความปลอดภัยของบัญชีผู้ใช้ แนะนำให้ผู้ใช้บริการของทวิตเตอร์เปลี่ยนพาสเวิร์ดจะเป็นการดีกว่าครับ!!!

Update: "DNS ของทวิตเตอร์ถูกแก้ไขชั่วคราว (เปลี่ยนให้ชี้ไปยังหน้าเว็บของแฮคเกอร์) แต่มันได้รับการแก้ไขเรียบร้อย แล้ว เราจะอัพเดตรายละเอียดให้ทราบโดยเร็ว" ข้อความล่าสุดทีทวิตเตอร์ได้โพสต์ แจ้งไว้

การเชื่อมสายโทรศัพท์และ POTs Splitter

สายโทรศัพท์ที่ต่อกับอุปกรณ์ ADSL จะต้องเป็นสายตรงจากองค์การโทรศัพท์ โดยไม่มีการต่อพ่วงอุปกรณ์ใด ๆ การต่อพ่วงสามารถทำได้เมื่อต่อผ่านอุปกรณ์ POTs splitter เท่านั้น การต่อพ่วงโดยไม่ใช้ POTs Splitter จะทำให้สัญญาณ ADSL หลุด เมื่อมีการใช้สายโทรศัพท์ หรือสัญญาณ ADSL จะถูกรบกวนจนไม่สามารถใช้งานได้


POTS splitter คืออุปกรณ์ทีช่วยให้เราใช้โทรศัพท์ หรือแฟกส์ได้ พร้อม ๆ กับการใช้งานอินเทอร์เน็ตด้วย ADSL POTs Splitter ทำหน้าที่ในการแยกสัญญาณที่เป็น Voice ออกจากสัญญาณ ADSL เพื่อไม่ให้สัญญาณรบกวนซึ่งกันและกัน

อุปกรณ์ POTs splitter มี 3 ช่อง คือ LINE, MODEM และ PHONE ในการเชื่อมต่อให้นำสายโทรศัพท์ต่อเช้าที่ช่อง LINE และนำสายโทรศัพท์ที่ต่อไปยังโมเด็มต่อเข้าที่ช่อง Modem และ ต่อสายโทรศัพท์จากช่อง PHONE เข้าที่เครื่องรับโทรศัพท์

อุปกรณ์ POTs splitter โดยปกติมาพร้อมกับอุปกรณ์เราเตอร์ หรือโมเด็ม



รูปแบบการต่อพ่วงมีหลายรูปแบบ ดังนี้

รูปแบบที่ 1 การเชื่อมต่อแบบมาตรฐาน

นำสายโทรศัพท์จากผนัง เชื่อมต่อเข้าที่ช่อง LINE ของ POTs splitter นำสายโทรศัพท์จากเครื่องรับโทรศัพท์เชื่อมต่อเข้าที่ช่อง PHONE และต่อสายโทรศัพท์จากเราเตอร์เข้าที่ช่อง MODEM



รูปแบบที่ 2 การต่อพ่วงโทรศัพท์มากกว่า 1 จุด

การต่อพ่วงมากกว่า 1 จุด ต้องติดตั้ง POTs splitter มากกว่า 1 ตัว



รูปแบบที่ 3 การต่อสายตรงเข้าโมเด็ม และต่อโทรศัพท์ผ่าน POTs Splitter

ในบางกรณีการเชื่อมต่อผ่าน POTs Splitter อาจทำให้โมเด็มหรือเราเตอร์ไม่สามารถ Sync สัญญาณ ADSL ได้ต้องใช้อุปกรณ์แยกโทรศัพท์แบบธรรมดาทั่ว ๆ ไป ( เข้า 1 ออก 2) และเชื่อมต่อไปยังโมเด็ม และ POTs splitter ดังภาพ



รูปแบบที่ 4 การเชื่อมต่อผ่าน Micro filter

Micro filter เป็นอุปกรณ์กรองสัญญาณความถี่ต่ำ เพื่อป้องกันสัญญาณโทรศัพท์เข้าไปรบกวนสัญญาณ ADSL อุปกรณ์ Micro filter มีสองช่อง คือ Line และ Phone ในการเชื่อมต่อ ต้องใช้อุปกรณ์แยกสายโทรศัพท์ แบบเข้า 1 ออก 2 และเชื่อมต่อสายโทรศัพท์จากอุปกรณ์แยกสายไปที่ Micro filter ที่ช่อง Line และต่อสายโทรศัพท์จากเครื่องรับโทรศัพท์เข้าที่ช่อง Phone



รูปแบบที่ 5 การเชื่อมต่อผ่านตู้สาขา PBX

กรณีการเชื่อมต่อผ่านตู้สาขา เพื่อให้สามารถใช้งานอินเทอร์เน็ต ADSL ได้ ต้องมีการตัด - ต่อและเดินสายใหม่ ดังภาพ ถ้าใช้ micro filter ก็ต้องทำการตัด - ต่อสายเช่นเดียวกัน โดยต้องติดตั้งอุปกรณ์แยกสาย ( เช่นเดียวกับรูปแบบที่ 4) และต่อ micro filter ก่อนเข้าตู้ PABX


ความรู้เกี่ยวกับ ADSL เบื้องต้น

ADSL มาจากคำว่า Asymmetric Digital Subscriber Line เป็นเทคโนโลยีของ Modem แบบใหม่ ที่เปลี่ยนโฉมหน้าของสายโทรศัพท์ที่ทำจากลวดทองแดง ให้เป็นเส้นสัญญาณนำส่งข้อมูลความเร็วสูง โดย ADSL สามารถจัดส่งข้อมูลจากผู้ให้บริการด้วยความเร็วมากกว่า 6 Mbps ไปยังผู้รับบริการ หมายความว่า ผู้ใช้บริการสามารถ Download ข้อมูลด้วยความเร็วสูงมากกว่า 6 Mbps ขึ้นไปจากผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต หรือผู้ให้บริการข้อมูลทั่วไป (ส่วนจะได้ความเร็ว กว่า 6 Mbps หรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับผู้ให้บริการ รวมทั้งระยะทางการเชื่อมต่ออีกด้วย) ความเร็วขณะนี้ มากเพียงพอสำหรับงานต่างๆ ดังต่อไปนี้
• งาน Access เครือข่าย อินเทอร์เน็ต
• การให้บริการแพร่ภาพ Video เมื่อร้องขอ (Video On Demand)
• ระบบเครือข่าย LAN
• การสื่อสารข้อมูลระหว่างสถานที่ทำงานกับบ้าน (Telecommuting)

ประโยชน์จากการใช้บริการ ADSL
• ท่านสามารถคุยโทรศัพท์พร้อมกันกับการ Access ใช้งานอินเทอร์เน็ตได้พร้อมกัน ด้วยสายโทรศัพท์เส้นเดียวกัน โดยไม่หยุดชะงัก
• ท่านสามารถเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตด้วยความเร็วเป็น 140 เท่าเมื่อเทียบกับการใช้ Modem แบบ Analog ธรรมดา
• การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตของท่านจะถูกเปิดอยู่เสมอ (Always-On Access) ที่เป็นเช่นนี้ เนื่องจากการส่งถ่ายข้อมูลถูกแยกออกจากการ เรียกเข้ามาของ Voice หรือ FAX ดังนั้นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตของท่านจะไม่ถูกกระทบกระเทือนแต่อย่างใด
• ไม่มีปัญหาเนื่องสายไม่ว่าง ไม่ต้อง Log On หรือ Log off ให้ยุ่งยากอีกต่อไป
• ADSL ไม่เหมือนกับการให้บริการของ Cable Modem ตรงที่ ADSL จะทำให้ท่านมีสายสัญญาณพิเศษเฉพาะเพื่อเชื่อมต่อกับ อินเทอร์เน็ต ขณะที่ Cable Modem เป็นการ Share ใช้สายสัญญาณกับผู้ใช้คนอื่นๆ ที่อาจเป็นเพื่อนบ้านของท่าน
• ที่สำคัญ Bandwidth การใช้งานของท่านจะมีขนาดคงที่ (ตามอัตราที่ท่านเลือกใช้บริการอยู่เสมอ) ขณะที่ขนาดของ Bandwidth ของการเข้ารับบริการ Cable Modemหรือการใช้บริการ อินเทอร์เน็ตปกติของท่าน จะถูกบั่นทอนลงตามปริมาณการใช้งาน อินเทอร์เน็ตโดยรวม หรือการใช้สาย Cable Modem ของเพื่อนบ้านท่าน
• สายสัญญาณที่ผู้ให้บริการ ADSL สำหรับท่านนั้น เป็นสายสัญญาณอิสระไม่ต้องไป Share ใช้งานกับใคร ด้วยเหตุนี้ จึงมีความน่าเชื่อถือ และมีความปลอดภัยสูง

อัตราความเร็วในการรับส่งข้อมูลบน ADSL
ADSL ที่ว่าทำงานเร็ว นั้นเร็วเท่าใดกันแน่ ก่อนอื่นมาทำความเข้าใจก่อนว่า ADSL มีอัตราความเร็วขึ้นอยู่กับชนิด ดังนี้
• Full-Rate ADSL เป็น ADSL ที่มีศักยภาพในการส่งถ่ายข้อมูลข่าวสาร ที่ความเร็ว 8 เมกกะบิต ต่อวินาที
• G.Lite ADSL เป็น ADSL ที่สามารถส่งถ่ายข้อมูลข่าวสารได้สูงถึง 1.5 เมกกะบิตต่อวินาที ขณะที่กำลัง Download ความเร็วขนาดนี้ คิดเป็น 25 เท่าเมื่อเทียบกับการใช้ Modem แบบ Analog ขนาด 56K และคิดเป็น 50 เท่าเมื่อเทียบกับการใช้ Modem ความเร็ว 28.8K
• ผู้ให้บริการ ADSL สามารถให้บริการ ที่ความเร็วต่ำขนาด 256K ด้วยค่าใช้จ่ายต่ำ
อัตราความเร็วขึ้นอยู่กับ ระดับของการให้บริการ จากผู้ให้บริการ โดยปกติแล้ว Modem ที่เป็นระบบ ADSL สามารถ Download ข้อมูลได้ที่ความเร็ว 256 กิโลบิตต่อวินาที ไปจนถึง 8 เมกกะบิตต่อวินาที นอกจากนี้ มาตรฐาน G.lite ที่กำลังจะมาใหม่ สามารถให้บริการที่อัตราความเร็วเป็น 1.5 เมกกะบิตต่อวินาที
ADSL สามารถทำงานที่ Interactive Mode หมายความว่า ที่ Mode การทำงานนี้ ADSL สามารถให้บริการรับส่งข้อมูล ที่ความเร็วมากกว่า 640 Kbps พร้อมกันทั้งขาไปและขากลับ

ขีดความสามารถของ ADSL
เทคโนโลยีของ ADSL เป็นแบบ Asymmetric มันจะให้ Bandwidth การทำงานที่ Downstream จากผู้ให้บริการ ADSL ไปยังผู้รับบริการสูงกว่า Upstream ซึ่งเป็นการส่งข้อมูลจากผู้ใช้บริการหรือลูกค้า ไปยังผู้ให้บริการ(ดังรูปที่ 1 และ 2)

วงจรของ ADSL จะเชื่อมต่อ ADSL Modem ที่ทั้งสองด้านของสายโทรศัพท์ ทำให้มีการสร้างช่องทางของข้อมูลข่าวสารถึง 3 ช่องทาง ได้แก่
• ช่องสัญญาณ Downstream ที่มีความเร็วสูง
• ช่องสัญญาณ ความเร็วปานกลางแบบ Duplex (ส่งได้ทางเดียว)
• ช่องสัญญาณที่ให้บริการโทรศัพท์พื้นฐาน
ช่องสัญญาณ Downstream ความเร็วสูง มีความเร็วระหว่าง 1.5-6.1 Mbps ส่วนอัตราความเร็วของช่องสัญญาณแบบ Duplex อยู่ที่ 16-640 Kbps นอกจากนี้ ในแต่ละช่องสัญญาณยังสามารถแบ่งออกเป็นช่องสัญญาณย่อยๆ ที่มีความเร็วต่ำ ที่เรียกว่า Sub-Multiplex ได้อีกหลายช่อง
ADSL Modem สามารถให้อัตราความเร็วการส่งถ่ายข้อมูลมาตรฐานเทียบเท่า North American T1 1.544 Mbps และ European E1 2.048 Mbps โดยผู้ใช้บริการสามารถเลือกซื้อบริการความเร็วได้หลายระดับ

ระยะทางและอัตราความเร็วของ ADSL
ระยะทางมีผลต่ออัตราความเร็วในการให้บริการของ ADSL เป็นอย่างมาก โดยมีปัจจัยหลายประการ เช่น ขนาดความยาวสาย ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของเส้นลวด อุปกรณ์ Bridge Taps รวมไปถึงการกวนกันของอุปกรณ์ Cross-Coupled
ที่เป็นเช่นนี้ เนื่องจาก ความเสื่อมถอย (Attenuation) ของสัญญาณเกิดขึ้น เมื่อความยาวของสายทองแดงมีมากขึ้น รวมทั้งความถี่ ซึ่งค่านี้จะลดลงเมื่อเพิ่มขนาดของสาย
อย่างไรก็ดี งาน Application ที่ต้องใช้บริการ ADSL ส่วนใหญ่ จะเป็นพวก Compressed Digital Video เนื่องจากเป็นสัญญาณประเภททำงานแบบเวลาจริง (Real-Time) ด้วยเหตุนี้ สัญญาณ Digital Video เหล่านี้ จึงไม่สามารถใช้ระบบควบคุมความผิดพลาด แบบที่มีอยู่ในระดับของเครือข่ายทั่วไป ดังนั้น ADSL Modem จึงมีระบบ ที่เรียกว่า Forward Error Correction ซึ่งเป็นระบบที่ช่วยลดความผิดพลาด ที่อาจเกิดขึ้นโดยสัญญาณรบกวนที่เกิดขึ้นในห้วงเวลาสั้นมาก หรือที่เรียกว่า Impulse Noise โดย ADSL Modem จะใช้วิธีการตรวจสอบความผิดพลาดที่ทำงานบนพื้นฐานของ การกำหนดให้มีการตรวจสอบสัญญาลักษณ์ทีละตัว การทำเช่นนี้ ก็ยังช่วยให้ เป็นการลด ปัญหาการควบของสัญญาณรบกวนในสาย

การทำงานของ ADSL
หลักการทำงานของ ADSL ไม่มีอะไรมาก เนื่องจากว่า สายโทรศัพท์ที่ทำจากลวดทองแดง มี Bandwidth สูงคิดเป็น หลายๆ MHz ดังนั้น จึงมีการแบ่งย่านความถี่นี้ออกเป็นส่วน เพื่อใช้งานโดยวิธีการแบบที่เรียกว่า FDM (Frequency Division Multiplexing) ซึ่งเป็นเทคนิคการแบ่งช่องสัญญาณออกเป็นหลายๆช่อง โดยที่แต่ละช่องสัญญาณจะมีความถี่ที่แตกต่างกัน ดังนั้น จะได้ Bandwidth ต่างๆ ดังนี้
• ย่านความถี่ขนาดไม่เกิน 4 KHz ปกติจะถูกนำมาใช้เป็น Voice กับ FAX
• ย่านความถี่ที่สูงกว่านี้ จะถูกสำรองจองไว้ให้การรับส่งข้อมูล โดยเฉพาะ ซึ่งจะถูกแบ่งออกเป็น หลายย่านความถี่ เช่น ช่องสัญญาณสำหรับ การรับข้อมูลแบบ Downstream ตัวอย่าง เช่นการ Download ข้อมูล ส่วนช่องสัญญาณอื่นมีไว้สำหรับการส่งข้อมูลที่มีความเร็วต่ำกว่า Downstream ซึ่งเรียกว่า Upstream หรือสำหรับการ Upload ข้อมูล เป็นต้น
สถาปัตยกรรมการทำงานของเครือข่าย ADSL
เทคโนโลยีของเครือข่าย ADSL มิได้มีไว้เพื่อการ Download ข้อมูลจาก Web Page อย่างรวดเร็วเท่านั้น แต่ยังมีศักยภาพในการให้บริการสื่อสารในลักษณะ Broad Band สำหรับผู้ใช้งานทั่วไป ซึ่งคำว่า Broad Band ในที่นี้หมายถึง การให้บริการสื่อสารที่มีความเร็วเกินกว่า 1-2 Mbps ขึ้นไป

สถานที่ผู้เข้ารับบริการ ADSL นั้น นอกจากจะต้องมี ADSL Modem แล้ว ยังต้องมี อุปกรณ์เล็กๆตัวหนึ่ง ซึ่งได้กล่าวมาแล้วคือ Splitter หรือ Filter ซึ่งอุปกรณ์ตัวนี้ จะทำหน้าที่แยกสัญญาณเสียงที่มีความถี่ไม่เกิน 4 KHz สำหรับการส่ง Voice เช่นการพูดคุยโทรศัพท์ ส่วนย่านความถี่ที่เหลือ เช่น 1-2 MHz ขึ้นไป จะถูกกันไว้เพื่อการส่งข้อมูล (Upstream) และรับข้อมูลเข้ามา (Downstream) โดยที่ Splitter สามารถแยกสัญญาณทั้ง 3 ออกจากกัน ดังนั้นท่านสามารถคุยโทรศัพท์ขณะที่ยังสามารถ Download ข้อมูลจาก อินเทอร์เน็ตพร้อมกันได้
ส่วนที่ศูนย์บริการระบบ ADSL นั้น เราเรียกว่า CO หรือ Central Office ซึ่งอาจเป็นของผู้ให้บริการ ADSL หรือไม่ก็อาจเป็นชุมสายโทรศัพท์เสียเองก็ได้ จะทำหน้าที่รับเอาสัญญาณ Voice Services (เสียงพูดโทรศัพท์) เข้ามาที่ตัว Voice Switch ซึ่งอาจรวมทั้ง Data ก็ได้ โดย สัญญาณทั้งสองจะมาสิ้นสุดที่อุปกรณ์ที่เรียกว่า Splitter ชุดใหญ่ที่ศูนย์ให้บริการแห่งนี้ ลักษณะนี้จะเห็นได้ว่า เส้นทาง Local Loop (เส้นทางการเชื่อมต่อระหว่างผู้ให้บริการกับผู้รับบริการ) จะไปสิ้นสุดที่ Access Node แทนที่จะเป็น CO Switch (คำว่า Access Node ในที่นี้หมายถึงอุปกรณ์ที่ใช้เพื่อสลับสัญญาณ ADSL หรือที่เรียกว่า DSLAM (DSL Access Multiplexer ส่วน CO Switch หรือ Voice Switch หมายถึงระบบสลับสัญญาณเพื่อให้บริการระบบโทรศัพท์)
หน้าที่ของ DSLAM ได้แก่การสลับสัญญาณ ADSL ที่เข้ามาพร้อมๆกันหลายช่อง โดยผ่านเข้ามาทางชุด Splitter ในศูนย์ผู้ให้บริการ ให้สามารถออกไปที่ เอาท์พุท ปลายทาง ซึ่งในที่นี้ได้แก่ ผู้ให้บริการระบบเครือข่ายต่างๆ เช่น ISP หรือผู้ให้บริการ Video On Demand หรือศูนย์ให้บริการข้อมูลข่าวสารต่างๆ หรือ สำนักงานใหญ่ของหน่วยงานธุรกิจภาคเอกชนก็ได้

ตั้งค่าระบบเครือข่ายแบบง่ายๆ บนวินโดวส์ 7

ไมโครซอฟท์พยายามบนวินโดวส์หลายเวอร์ชันมานานมากแล้ว เพื่อที่จะทำให้การตั้งค่าระบบเครือข่ายภายในบ้านนั้นเป็นไปอย่างง่ายดาย เชื่อมต่อได้อัตโนมัติ และก็สามารถแชร์ไฟล์และโฟลเดอร์ได้สะดวก ในที่สุดก็มาประสบความสำเร็จในวินโดวส์ 7 ด้วยคุณสมบัติที่เรียกว่า "HomeGroup"
โฮมกรุ๊ป (HomeGroup) ช่วยผู้ใช้ในการสร้างระบบเครือข่ายภายในบ้านด้วยฟังก์ชันการเข้าถึงและแชร์ ข้อมูลเพียบพร้อมและยืดหยุ่น ถือได้ว่าเป็นหนึ่งในคุณสมบัติใหม่ที่น่าสนใจมากบนวินโดวส์ 7 และนั่นก็หมายถึงว่า ผู้ใช้วินโดวส์วิสต้า เอ็กซ์พี แมค และลินุกซ์ คงไม่มีโอกาสได้สัมผัสกับความสะดวกสบายที่ว่า
วินโดวส์ 7 ช่วยเราในการสร้างระบบเครือข่ายได้ 3 รูปแบบ - Home, Work และ Public หรือก็คือเครือข่ายภายในบ้าน ที่ทำงาน และที่สาธารณะ แต่ในการใช้งานโฮมกรุ๊ปนั้นจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อพีซีบนระบบเครือข่ายทุก เครื่องตั้งค่าการเชื่อมต่อเอาไว้เป็นแบบ Home เท่านั้น ซึ่งในการตั้งค่าที่ว่าบนวินโดวส์ 7 ก็สามารถทำได้โดยไปที่คอนโทรลพาเนล แล้วเลือก Network and Internet จากนั้นก็เลือก Network and Sharing Center (หรือใครอยากจะใช้วิธีลัดด้วยการคลิกขวาที่ไอคอนเน็ตเวิร์กบนซิสเต็มเทรย์ มุมล่างขวาของหน้าจอเพื่อเข้าสู่ Network and Sharing Center ก็ได้เช่นกัน) และท้ายสุดก็คือดูให้แน่ใจว่าเราได้เลือกค่าเอาไว้เป็น "Home network" ภายใต้ไอคอนระบบเครือข่าย หากยังไม่ใช่ก็คลิกที่ลิงก์ "Public network" หรือ "Work network" แล้วเปลี่ยนให้เป็น "Home network" แทน

เพียงแค่นี้เราก็สามารถสร้างโฮมกรุ๊ปได้แล้ว ซึ่งที่จริงหลังจากที่เราเปลี่ยนระบบเครือข่ายเป็นแบบภายในบ้านหรือ Home วินโดวส์ 7 ก็จะพาเราไปยังหน้าต่างสำหรับตั้งค่าอย่าง Create a homegroup เพื่อสร้างโฮมกรุ๊ปใหม่ขึ้นมา หรือถ้าได้เลือก Home เอาไว้อยู่แล้ว ก็คลิกที่ลิงก์ Choose homegroup and sharing options แล้วตามด้วย Create ได้เลย

ขั้นตอนต่อไปก็คือ การเลือกชนิดของไฟล์ที่ต้องการแบ่งปันกันกับสมาชิกคนอื่นในโฮมกรุ๊ป ก็มีให้เลือกตั้งแต่รูปภาพ เพลง วิดีโอ ไฟล์เอกสาร หรือแม้แต่การแชร์เครื่องพิมพ์ โดยตัวเลือกเหล่านี้จะสอดคล้องกับไลบรารี (library) ที่วินโดวส์ 7 สร้างขึ้นตามค่าดั้งเดิมตอนติดตั้งระบบปฏิบัติการลงบนคอมพิวเตอร์ และก็รวมไปถึงโฟลเดอร์อื่นๆ ที่สร้างขึ้นโดยผู้ใช้แต่ละคนในยูสเซอร์โพรไฟล์ด้วย

สิ่งที่เรากำลัง ทำอยู่ตอนนี้ความจริงแล้วก็คือ การแบ่งปันไฟล์ต่างๆ ที่อยู่บนพีซีของเราให้กับผู้ใช้คนอื่นๆ ที่อยู่บนโฮมกรุ๊ปให้สามารถเข้าถึงได้ ตัวอย่างเช่น โฟลเดอร์ c:UsersxxxxPictures หรือ c:UsersxxxxMusic และก็รวมไปถึงโฟลเดอร์อย่าง c:UsersPublic ด้วย โดยผู้ใช้สามารถเพิ่มโฟลเดอร์ต่างๆ ที่ต้องการแชร์ได้มากตามต้องการ

หลังจากเสร็จสิ้นขั้นตอนนี้ วินโดวส์ 7 ก็จะเปิดโอกาสให้เราตั้งค่ารหัสผ่านสำหรับเข้าใช้โฮมกรุ๊ปได้ ซึ่งนั่นก็หมายถึงว่าพีซีเครื่องอื่นๆ ที่ต้องการใช้งานโฮมกรุ๊ปก็จำเป็นต้องทราบรหัสผ่านนี้ด้วยเช่นกัน ฉะนั้นเก็บรักษารหัสผ่านให้ดีๆ (อาจใช้วิธีไฮไลต์เลือกแล้วก็ก๊อบปี้ไปเก็บไว้ในเท็กซ์ไฟล์หรือส่งเป็นอี เมล์ไว้ในอินบ็อกซ์ของเราก็ได้) หรืออาจสั่งพิมพ์ออกมาไว้ซักชุดยามฉุกเฉิน และจะได้ใช้เป็นข้อมูลเบื้องต้นในการตั้งค่าให้กับผู้ใช้คนอื่นๆ บนโฮมกรุ๊ปเดียวกันด้วย

หลังจากเราคลิก Finish เพื่อเสร็จสิ้นการตั้งค่า คำสั่ง Change homegroup settings เป็นส่วนที่เปิดโอกาสให้เราเปลี่ยนรหัสผ่านหากเปลี่ยนใจอยากกำหนดใหม่ รวมไปถึงการเข้าถึงการตั้งค่าชั้นสูงในหน้า Advanced Sharing Settings ด้วย แต่สิ่งหนึ่งที่ยังทำไม่น้อยอย่างน้อยก็ในตอนนี้ก็คือ การปรับเพิ่มไลบรารี โฟลเดอร์ หรือไฟล์ในโฮมกรุ๊ป ซึ่งก็น่าแปลกใจพอสมควรที่ไมโครซอฟท์มองข้ามตรงนี้ไป ทั้งที่สิ่งต่างๆ บนโฮมกรุ๊ปควรถูกปรับเปลี่ยนได้อย่างยืดหยุ่นที่สุด
แม้จะยังไม่จำเป็นนัก แต่ถึงตรงนี้แล้วก็ลองแวะเข้ามาที่ Advanced Sharing Settings ดูสักนิดด้วยการคลิก Change advanced sharing settings แล้วเลือกลูกศรชี้ลงที่อยู่ข้างๆ Home หรือ Work
ตรงจุดนี้เราจะเห็นตัว เลือกอีก 6 ตัว ที่ระบุถึงรูปแบบการตั้งค่าระบบเครือข่ายภายในบ้านของวินโดวส์ 7 (ที่จริงแล้วระบบเครือข่ายทุกแบบบนวินโดวส์ 7 ก็ใช้การตั้งค่าเบื้องต้นในลักษณะเดียวกันนี้) โดยจุดที่น่าสนใจที่สุดอยู่ในกรอบ Advanced Sharing ก็คือ การกำหนดค่าการค้นหาคอมพิวเตอร์บนระบบเครือข่าย (network discovery - ทำให้พีซีเครื่องอื่นสามารถมองเห็นคอมพิวเตอร์ของคุณได้) การแชร์ไฟล์และเครื่องพิมพ์ และการแชร์สื่อข้อมูลต่างๆ ซึ่งหากไม่ได้เลือกค่าเหล่านี้ไว้ เราก็แทบจะไม่ได้ใช้ประโยชน์อะไรจากโฮมกรุ๊ปเลย...เราจะไม่มีโอกาสได้ใช้ คุณสมบัติที่ทำให้การแลกเปลี่ยนข้อมูลบนคอมพิวเตอร์เครื่องต่างๆ ภายในบ้านเป็นไปอย่างราบรื่นผ่านศูนย์กลางที่ใช้ในการเก็บข้อมูลหลักหรือบน ฮาร์ดดิสก์ขนาดใหญ่ที่ทำหน้าที่เฉพาะในการเก็บข้อมูลส่วนกลางของสมาชิกใน บ้าน

หลังจากที่เราได้สร้างโฮมกรุ๊ปขึ้นมา คอมพิวเตอร์ที่มองเห็นเครือข่ายของเราก็สามารถเข้าร่วมเป็นสมาชิกในโฮมกรุ๊ป ได้ โดยผู้ใช้แต่ละเครื่องเพียงแค่ไปเรียก Network and Sharing Center ขึ้นมาจากคอนโทรลพาเนล แล้วคลิกที่ Choose homegroup ซึ่งจะมีคำถามปรากฏขึ้นมาเพื่อยืนยันในการเข้าเป็นสมาชิกโฮมกรุ๊ปว่า "Do you want to join a homegroup?" พร้อมด้วยรายชื่อโฮมกรุ๊ปที่มีอยู่ จากนั้นก็คลิกที่ Join Now เพื่อเสร็จสิ้นกระบวนการ

หลังจากที่เรา เข้าไปสมาชิกในโฮมกรุ๊ปแล้ว จะมีลิงก์ที่เชื่อมไปยังหน้าช่วยเหลือของวินโดวส์เพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับ การเข้าถึงไฟล์และทรัพยากรต่างๆ บนโฮมกรุ๊ป ซึ่งก็ช่วยเหลือได้อย่างดีสำหรับผู้ใช้ที่ไม่ค้นเคยกับการแชร์ข้อมูลต่างๆ ลักษณะนี้มาก่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับคนที่ยังไม่รู้จักวิธีแชร์ไฟล์ของตัวเองให้กับคน อื่นๆ
โดยปกติแล้วไลบรารีต่างๆ ที่ถูกสร้างขึ้นมาตั้งแต่ตอนติดตั้งวินโดวส์ 7 จะถูกแบ่งปันบนโฮมกรุ๊ปโดยทันที แต่อย่างที่ได้กล่าวไว้ก่อนหน้านี้ว่า ไม่เฉพาะไลบรารีเหล่านี้เท่านั้นที่เราแชร์ให้กับคนอื่นๆ ได้ เราสามารถกำหนดการแชร์ทรัพยากรได้ด้วยตัวเอง โดยให้เรียกไลบรารีขึ้นมาจากทาส์กบาร์และเลือกไปยังส่วนที่เราต้องการแบ่ง ปัน จากนั้นก็คลิกขวาแล้วเลือก Share With | Homegroup ซึ่งจะมีตัวเลือกให้เลือกอีก 2 แบบด้วยกัน คือ อ่านอย่างเดียว และอ่านและเขียนไฟล์ข้อมูลได้ หมายความว่าหากเราไม่อยากให้คนอื่นเข้ามาแก้ไขอะไรในนี้ก็เลือกเป็น อ่านอย่างเดียว แต่ถ้าต้องการให้ไลบรารีที่ว่าเปิดกว้างสำหรับผู้ใช้คนอื่นๆ อย่างเต็มที่ อ่าน/เขียน ก็เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ

ความจริงเราสามารถแชร์โฟลเดอร์ และไฟล์ไปไว้บนโฮมกรุ๊ปได้ แต่แนวทางที่ดีกว่าก็คือ โยนโฟลเดอร์เหล่านั้นไปไว้บนไลบรารี แล้วใช้วิธีการแชร์ไลบรารีน่าจะเข้าท่ากว่า อย่างน้อยก็สะดวกในการจัดการสิ่งต่างๆ ในภายหลังมากกว่าวิธีอื่นๆ

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่พร้อมก้าวเป็น Ubiquitous Campus

พีซีแมกะซีนฉบับนี้ได้นำเสนอเรื่องราวของการทำงานได้ทุกที่ ทุกเวลาที่ต้องการ ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของทางมหาวิทยาลัยเชียใหม่เอง ที่กำลังมีแนวทางในเรื่องแบบเดียวกันก็คือ การทำให้มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็น Ubiquitous Campus (ยู-บิ-ควิ-ตัส แคมปัส) ครับ
รศ.ดร.ถนอมพร เลาหจรัสแสง สำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้เล่าให้ฟังว่า ณ ในช่วงเวลานี้ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กำลังอยู่ในระหว่างการดำเนินงานด้านไอที เพื่อก้าวไปสู่การเป็น Ubiquitous Campus ซึ่งโดยนิยามของคำว่า Ubiquitous Campus ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่นั้น หมายถึง การสร้างสิ่งแวดล้อมของมหาวิทยาลัย เพื่อการดำเนินการต่างๆ ในชีวิตประจำวันของ นักศึกษา และ ชุมชมภายใน ให้เอื้อต่อการเข้าถึง สามารถใช้ประโยชน์จากไอที และการสื่อสารโทรคมนาคมอย่างครอบคลุม และมีประสิทธิภาพ โดยมุ่งเน้นการสร้างชีวิตไอที (CMU IT Life) ให้เป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของนักศึกษา อาศัยเทคโนโลยีเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เครื่องมือการเข้าถึงในรูปแบบต่างๆ ที่ไม่จำกัดเฉพาะคอมพิวเตอร์ (terminals) และการให้บริการต่างๆ ที่ใช้ประโยชน์จากไอที โดยการออกแบบให้มีการบูรณาการและผสมผสานเข้าด้วยกันอย่างเป็นระบบ

นับจากช่วงเวลานี้ไปอีก 4 ปี ข้างหน้า เชื่อว่านักศึกษาและชุมชนภายในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จะสามารถเข้าถึง และใช้ประโยชน์ จาก สารสนเทศได้อย่างครอบคลุม ทุกที่ ทุกเวลา และจากเครื่องมือที่หลากหลาย โดยการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีใหม่ (Emerging Technology) ที่เรียกว่า Ubiquitous Technology* รวมทั้งการดำเนินการในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องไปพร้อมๆ กัน เช่น การเพิ่มศักยภาพของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์หลัก การบริหารจัดการพื้นที่การจัดเก็บข้อมูล การขยายความเร็ว ครอบคลุมการดูแลด้านความปลอดภัยของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์อย่างต่อเนื่อง การเพิ่มจุดของการให้บริการเครือข่ายแบบไร้สาย ซึ่ง ณ วันนี้มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ก็ได้ให้บริการเครือข่ายไร้สายในมหาวิทยาลัยกว่า 227 จุด ทำให้มีผู้ใช้เข้าพร้อมกันได้ถึง 2,000 ราย โดยนักศึกษาสามารถใช้บริการได้ในพื้นที่ที่มีสัญลักษณ์ Jumbo-Net Service Area เช่น สำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ ห้องสมุดกลาง ห้องสมุดคณะ และศูนย์ไอทีของทุกคณะ หอพักทั่วมหาวิทยาลัย และที่สำคัญที่สุดก็คือ การให้บริการการใช้ประโยชน์สารสนเทศเพื่อการสื่อสาร เรียนรู้ และเพื่อ productivity ต่างๆ ของผู้เรียน ตัวอย่างเช่น การให้บริการ Digital Content ในลักษณะของสื่อใหม่ Game-Based Learning สตรีมมิ่งมีเดีย เป็นต้น ผ่านอุปกรณ์การเข้าถึงในรูปแบบต่างๆ โดยบุคลากรและนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สามารถใช้บริการผ่านเว็บไซต์ต่างๆ ดังต่อไปนี้

* www.chiangmai.ac.th เว็บไซต์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อการประชาสัมพันธ์ข้อมูล ข่าวสารของมหาวิทยาลัย ที่นักศึกษาสามารถติดตามข่าวสารทางวิชาการ ความเคลื่อนไหว กิจกรรมต่างๆ ภายในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
* http://itsc.cmu.ac.th เว็บไซต์สำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ นำเสนอข้อมูล ข่าวสาร การให้บริการด้านไอที โดยเฉพาะการศึกษา พัฒนาทักษะด้านไอทีของนักศึกษา และจัดหลักสูตรด้านไอทีที่หลากหลายตามความต้องการ
* http://mis.chiangmai.ac.th/cmumis/ ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการและการบริหารงานมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
* http://itscgames.cm.edu เว็บไซต์ระบบสื่อการเรียนรู้ออนไลน์รูปแบบ Game-Based Learning
* http://itsc.cmu.ac.th/cmunetwork.html โทรทัศน์ออนไลน์ CMU Network TV
* http://dekmor.cmu.ac.th ชุมชนออนไลน์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่
* http://www.mcotcm.com/it_talk เว็บไซต์เผยแพร่ความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศผ่านสื่อวิทยุกระจายเสียง อสมท FM 100.75 รายการคุยเฟื่องเรื่องไอที
* http://www.fm100cmu.com/blog/itsccorner เว็บไซต์เผยแพร่ความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศผ่านสื่อวิทยุกระจายเสียง เสียงสื่อสารมวลชน FM 100 รายการ ITSC Corner
* http://www.lannacorner.net/weblanna สารสนเทศด้านศิลปวัฒนธรรมล้านนา รวมเรื่องราวประวัติศาสตร์ ภูมิปัญญา ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต ร้านอาหารและแหล่งท่องเที่ยว

และ ถ้านักศึกษาไม่ได้มีเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นของตัวเอง ทางมหาวิทยาลัยก็ได้มีการจัดบริการคอมพิวเตอร์พร้อมอินเทอร์เน็ตทั่วทุกคณะ จำนวน 1,000 เครื่อง ด้วยความเร็ว 400 Mbps สามารถ Log in โดยใช้ Username และ Password ของนักศึกษา เพื่อใช้งานระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตไร้สาย (Jumbo – Net) และเรียกใช้งานจากที่พัก (Remote Access) โดยมีชั่วโมงการใช้งาน 60 ชั่วโมง/เดือน นอกจากนี้ยังได้มีการจัดตั้ง ITSC CORNER โดยให้บริการเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวน 80 เครื่อง ในพื้นที่เดียวกันอย่างครบวงจร บริเวณหน้าสำนักหอสมุด ทั้งนี้ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่นักศึกษาได้ใช้บริการเกี่ยวกับการสืบค้น ค้นคว้าสารสนเทศและสามารถใช้เป็นแหล่งนัดพบของนักศึกษา เพื่อทำกิจกรรมการเรียนรู้ และแลกเปลี่ยนความรู้กันได้เป็นอย่างดี
*Ubiquitous Technology ครอบคลุม IPV6, Grid, Handheld PC, RFID, Educational Content Sharing Service, Multimedia Classroom Services Next-generation LCMS and Digital Content โดยมี สำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็น หน่วยงานหลักในการดำเนินการ สำรวจ ติดตาม ค้นคว้า วิจัยหลัก เกี่ยวกับเทคโนโลยีดังกล่าว ทั้งนี้เพื่อเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม ให้การลงทุน และใช้ประโยชน์ทางด้านไอทีให้มีความปลอดภัยสูง

“ลายมือ” มีสิทธิ์สูญพันธุ์

ความเจริญของโลกทำให้หลายสิ่งหลายอย่างที่เคยเป็นมรดกสำคัญมีโอกาสสูญหายไป นักเขียนคนหนึ่งในอังกฤษเขียนหนังสือชื่อ “Script and Scribble: The Rise & Fall of Handwriting” ทำนายว่าการเขียนด้วยมือกำลังสูญพันธุ์อย่างช้า ๆ
คิตตี้ เบิร์นส์ ฟลอเรย์ ผู้เขียนหนังสือเล่มนี้ให้สัมภาษณ์ สำนักข่าว บีบีซี ว่าศิลปะการเขียนหนังสือด้วยมือกำลังเสื่อมไปอย่างรวดเร็วเนื่องจากคนรุ่น ใหม่ใช้ปากกาเขียนหนังสือเองน้อยลงเพราะมีการใช้ระบบสื่อสารสมัยใหม่ผ่าน เครือข่ายคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์มือถือกันอย่างแพร่หลายทั่วโลกและมีแนวโน้ม สูงขึ้นโดยตลอด ทำให้ไม่มีความจำเป็นในการเขียนหนังสือด้วยมืออีกต่อไป

ฟลอเรย์ ระบุว่า การหัดคัดลายมือเป็นพื้นฐานสำคัญในการเรียนการสอน ของโรงเรียนในประเทศอังกฤษช่วงศตวรรษที่ผ่านมาและคนอังกฤษก็มีวิธี การเขียนที่เป็นเอกลักษณ์ เห็นได้จากเรื่องราวในช่วงสงครามครั้งที่สอง เมื่อทหารเยอรมันปลอมตัวเป็นทหารช่างอังกฤษและแอบเข้าประเทศอังกฤษ เพื่อสอดแนมโดยไปตั้งแคมป.ในต่างจังหวัดแต่โดนจับได้เนื่องจากชาวบ้าน เห็นทหารคนหนึ่งเขียนหนังสือไม่เหมือนคนอังกฤษ

สำนักข่าวบีบีซีสัมภาษณ์ มาร์ก บราวน์ ครูใหญ่ของโรงเรียนเซนต์แมรี่ ซึ่งเป็นโรงเรียนประถมคาทอลิกที่เมือง Axminster,Devon พบว่าโรงเรียนเอง ก็ได้เปลี่ยนวิธีการสอนจากที่เคยเน้นการคัดลายมือให้สวยงามเป็นระเบียบ มาเป็นการให้ความสำคัญต่อเนื้อหาสาระของการเขียนมากกว่า

บราวน์ ระบุว่ายังมีการสอนให้เด็กหัดคัดลายมืออยู่และผู้ปกครองส่วนใหญ่อยากให้เป็น แบบเดียวกับสมัยของตัวเองแต่โรงเรียนก็ได้เปลี่ยนการให้ความ สำคัญ ซึ่งทำให้เด็กเขียนเนื้อหาได้ดีขึ้นแต่ลายมือแย่ลงเมื่อเทียบกับคนสมัยก่อน

ฟลอเรย์ ระบุว่า ความสำคัญของการเขียนและอ่านลายมือจะลดลงไปเรื่อยๆ ยกเว้นในวงการแพทย์เนื่องจากนายแพทย์ส่วนใหญ่ยังนิยมเขียน ด้วยมือในการวิเคราะห์โรค และใบสั่งยาแต่ก็เป็นที่ทราบกันดีว่าลายมือของพวก หมออ่านยากที่สุดในโลกและบางครั้งก็เป็นต้นเหตุของการรักษาผิดพลาด

ประเทศไทยเองก็เป็นปัญหาอยู่เห็นได้จากข่าวเมื่อเร็วๆนี้ที่มีการขลิบอวัยวะเพศเด็กชายทั้งที่เด็กไปที่คลินิกเพื่อผ่าตัดฝีในปาก

สิ่ง ที่เชื่อกันว่าจะเป็นสาเหตุที่เร่งให้การเขียนด้วยมือและลายมือสูญพันธุ์ เร็วยิ่ง ขึ้นคือพัฒนาการของโทรศัพท์มือถือซึ่งได้กลายเป็นเครื่องมือสื่อสาร สำหรับคน รุ่นใหม่และล่าสุดมีหนังสือขายดีในญี่ปุ่นเล่มหนึ่งชื่อ “ประสบการณ์ครั้ง แรก” ของนักเรียนมัธยมญี่ปุ่นอายุ 22 ปีใช้นามปากกาว่า ยูมี-โฮตารุ ซึ่งแปลว่า หิ่งห้อยฝันเฟื่อง หนังสือเล่มนี้อาจจะเป็นหนังสือขายดีเล่มแรกของโลกที่เขียน ด้วยการกดปุ่ม

สำนัก ข่าวซีเอ็นเอ็น รายงานว่านายหิ่งห้อยฝันเฟื่องเขียนหนังสือทั้งเล่มบน โทรศัพท์มือถือซึ่งเป็นปรากฏการณ์ใหม่ในสังคมคนรุ่นใหม่ชาวญี่ปุ่นโดยเขียน เรื่องที่ละบรรทัดบนโทรศัพท์มือถือและส่งไปที่เว็บไซต์ที่มีอยู่หลายแห่งใน ญี่ปุ่น

ความนิยมของนิยาย “ประสบการณ์ครั้งแรก” ทำให้สำนักพิมพ์ชื่อดังติดต่อนาย หิ่งห้อยฝันเฟื่อง เพื่อขอลิขสิทธิ์ไปตีพิมพ์และกลายเป็นหนังสือขายดีไปด้วย

ชาว ญี่ปุ่นเรียกนิยายบนโทรศัพท์มือถือนี้ว่า ไคไต โชเซ็ทสุ หรือบทประพันธ์บน โทรศัพท์มือถือเป็นวัฒนธรรมใหม่ที่เกิดขึ้นเมื่อ 10 ปีที่ผ่านมา นักเขียนส่วน ใหญ่เป็นวัยรุ่นหญิงและชายซึ่งเขียนเรื่องต่างๆ
รวมทั้ง ประสบการณ์ตัวเอง บางเรื่องเป็นสิ่งที่ต้องปิดบังอำพราง อาทิ เรื่องความสัมพันธ์ทางเพศ การเสพยา การทำแท้ง เขียนบนโทรศัพท์มือถือและส่งไปที่เว็บไซต์ บทประพันธ์เหล่านี้ สามารถติดตามอ่านได้บนโทรศัพท์มือถือเป็นตอนๆ
ความก้าวหน้าทางการสื่อสาร และปรากฏการณ์ทั้งหลายเหล่านี้มีส่วนสำคัญให้การเขียนหนังสือด้วยมือหดหายไป จากวัฒนธรรมคนรุ่นใหม่ ทำให้คนกลุ่มหนึ่ง ต้องกังวลใจเป็นอย่างยิ่ง คนกลุ่มนี้ก็คือผู้ผลิตอุปกรณ์เครื่องเขียน

มีรายงานว่ายอดการผลิต และจำหน่ายอุปกรณ์เครื่องเขียนยังขยายตัวอยู่แต่ สมาคมอุตสาหกรรมเครื่องเขียนในประเทศอเมริกาและประเทศต่างๆเริ่มไม่ แน่ใจในอนาคตของธุรกิจจึงจัดให้มีโครงการส่งเสริมการเขียนหนังสือขึ้นใน หลายประเทศโดยร่วมกับสมาคมการเขียน อาทิ สมาคมอุปกรณ์เครื่องเขียน ของอเมริกาสนับสนุนการจัดงาน วันแห่งการคัดลายมือขึ้นทุกๆวันที่ 23 มกราคมของทุกปี

ในประเทศ อังกฤษมีการจัดการแข่งขันการคัดลายมือในระดับประถมโดยหน่วย งานในอังกฤษที่มีชื่อว่า Support and Training inPrep Schools (SATIPS) โดย จัดขึ้นทุกปีเช่นกัน ในประเทศจีนและญี่ปุ่นเองก็เขียนตัวหนังสือเป็นศิลปะ ชนิดหนึ่งที่รัฐบาลสนับสนุนอย่างต่อเนื่องอยู่แล้ว

อย่างไรก็ตาม ฟลอเรย์เขียนในหนังสือของเธอว่าในอนาคตลายมือของคนจะ เลวร้ายลงไปเป็นลำดับและในที่สุดก็จะกลายเป็นสิ่งอ่านยากเหมือนกับคัมภีร์ โบราณ และเป็นเรื่องของผู้เชี่ยวชาญเหมือนกับในสมัยก่อนที่การเขียนหนังสือ ต้องอาศัยอาลักษณ์ที่ฝึกมาอย่างเชี่ยวชาญเท่านั้น

โน้ตบุ๊ก Dell E6400/E6500 ร้อนแล้วช้า

รายงานข่าวนี้อาจจะทำให้ใครหลายๆ คนต้องหัดมาสังเกตสังกาโน้ตบุ๊กที่ใช้อยู่สักเล็กน้อย โดยเฉพาะผู้ทีเป็นเจ้าของโน้ตบุ๊ก Dell Lattitude E6400 และ E6500 เนื่องจากมีรายงานออกมาว่า ผู้ใช้นับร้อยรายประสบปัญหากับโน้ตบุ๊กรุ่นดังกล่าวทีมักจะมีการทำงานช้าลง จนเกือบแน่นิ่งๆ เมื่อเครื่องเริ่มร้อนเกิน
สำหรับอาการดังกล่าวจะเกิดขึ้นเมื่อเครื่องมีความร้อนเกิน (overheat) โดย BIOS จะเริ่มลดสมรรถนะการทำงานของเครื่องลงโดยอัตโนมัติจนแทบจะหยุดนิ่งไป เลย (ต่ำกว่า 100MHz) ในขณะที่ผู้ใช้ที่ประสบปัญหาดังกล่าวบางรายกล่าวว่า และถึงแม้เครื่องจะเย็นลงแล้ว พวกเขาก็ยังไม่สามารถใช้งานโน้ตบุ๊กที่ความเร็วสัญญาณได้มากเกิน 50% ของความเร็วสูงสุดที่เครื่องทำได้อยู่ดี ผู้ใช้บางรายได้เคยแจ้งปัญหาดังกล่าวในโฟรัมให้กับเดลล์ได้ทราบตังแต่ต้นปี 2009 แล้ว แต่ดูเหมือนจะถูกเซ็นเซอร์ออกไป รวมถึงลิงค์ไฟล์ PDF ("Performance loss during normal operation in a Dell Latitude E6500 laptop due to process and buss clock throttling") ที่สร้างโดยผู้ใช้ที่อธิบายถึงปัญหาโดยรายละเอียด



อัพเดตล่าสุด ผู้ใช้บางรายอ้างว่า Dell Studio XPS 1645 ประสบปัญหาในลักษณะที่คล้ายๆ กันด้วย แต่ดูเหมือนสาเหตุของปัญหาจะมาจากอะแดปเตอร์ AC ที่จ่ายไฟต่ำเกินไป อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีการให้รายละเอียดเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาที่พบใน Dell E6400 และ E6500 ซึ่งทางบริษัทแจ้งให้ผู้ใช้คอยติดตามอัพเดตได้จากบล็อก Direct2Dell