www.speedtest.or.th
เห็นโฆษณามากมายกับบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงที่วันนี้ไปไกล ถึง 12 Mbps
ความ เร็วขั้นเทพ ถึงขนาดส่งช้างไปได้ทั้งตัวแบบนี้...แต่บางครั้งก็ยังทำให้ผู้บริโภคอย่าง เรา ๆ ค้างคาใจ กับปัญหากระตุกหรือช้าไม่ทันใจ พาลสงสัยว่าเงินที่เสียเพิ่มไปนั้น ได้ความเร็วเพิ่มจริงหรือไม่
ปัญหานี้..จึงกลายเป็นปัญหาสำคัญของบรรดาผู้ใช้อินเทอร์เน็ต
ซึ่ง นายแพทย์ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา ผู้อำนวยการสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม (สบท.) หน่วยงานในสำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) บอกว่าปัจจุบันผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตในประเทศไทยมีประมาณ 13.6 ล้านคน ที่ผ่านมา สบท.ได้รับเรื่องร้องเรียนจากผู้บริโภค เกี่ยวกับบริการอินเทอร์เน็ต ปรากฏว่า เรื่องประสิทธิภาพและความเร็วอินเทอร์เน็ตที่ใช้ไม่เป็นไปตามที่ผู้ให้ บริการโฆษณา เป็นเรื่องที่ถูกร้องเรียนเข้ามามากที่ สุดถึง 90%
ขณะเดียวกัน จำนวนผู้ใช้บริการตรวจสอบความเร็วอินเทอร์เน็ต จากเว็บไซต์ต่าง ๆ มีประมาณ 80,000 ครั้งต่อเดือน ซึ่งการตรวจสอบเหล่านี้ เป็นไปแบบชั่วขณะไม่มีการเก็บข้อมูลหรือประมวลผลหาสาเหตุที่แท้จริง
สบท.จึงร่วมมือกับ สมาคมผู้ดูแลเว็บไทยจัดทำ “โครงการสำรวจและทดสอบคุณภาพความเร็วอินเทอร์เน็ต ปี 2552”
ผู้บริโภคสามารถทดสอบความเร็วอินเทอร์เน็ตที่ใช้ผ่าน www.speedtest.or.th เรียกว่าเป็นศูนย์กลางตรวจสอบความเร็วอินเทอร์เน็ต
ด้าน พ.ต.อ.ญาณพล ยั่งยืน นายกสมาคมผู้ดูแลเว็บไทย บอกถึงหลักการทำงานของระบบทดสอบความเร็วนี้ว่า เมื่อผู้บริโภคเข้าทดสอบผ่านเว็บ ระบบจะทดสอบกับผู้ให้บริการรายนั้นทันที แบบเรียลไทม์
โดยระบบจะเปิดโปรแกรมขนาดเล็ก (Java applet) ผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ทดสอบ โปรแกรมดังกล่าวจะทำหน้าที่รับและส่งข้อมูลขนาดเล็กไปยังเครื่องแม่ข่าย ของผู้ให้บริการรายนั้น ๆ โดยอัตโนมัติ ซึ่งปัจจุบันสมาคมได้วางเซิร์ฟเวอร์ไว้ที่ผู้ให้บริการ 9 รายจำนวน 11 แห่งในประเทศไทยและอีก 4 แห่งในต่างประเทศ และจะเก็บข้อมูลไว้ในฐานข้อมูลกลาง
พ.ต.อ.ญาณพล บอกอีกว่า การทดสอบนี้จะเป็นการทดสอบความเร็ว ณ ช่วง เวลาใด ช่วงเวลาหนึ่ง ความเร็วที่ตรวจสอบได้ อาจจะไม่เท่ากันใน ทุกครั้งที่ทดสอบ เนื่องจากมีปัจจัยอื่น ๆ ที่อาจมีผลกระทบต่อความเร็ว เช่น ปัญหาคอขวด ทำให้การรับส่งข้อมูลไปกระจุกตัวอยู่ทำให้ความเร็วในการรับส่งข้อมูลลดลง หรืออุปกรณ์เน็ตเวิร์กพวกเร้าท์เตอร์ ถูกใช้งานจนเกินประสิทธิภาพในการรับส่งข้อมูล หรือช่วงเวลาในการใช้งานที่หนาแน่นก็ทำให้ความเร็วของการเชื่อมต่ออินเทอร์ เน็ตลดลงได้
โครงการนี้ ทั้ง สบท.และสมาคมผู้ดูแลเว็บไทย บอกว่าไม่ใช่การจับผิด แต่ต้องการเป็นระบบกลางที่น่าเชื่อถือ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ นอกจากจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการเพื่อใช้ในการปรับปรุงคุณภาพการให้ บริการแล้ว ยังเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคในการเลือกใช้บริการอินเทอร์เน็ต ต่าง ๆ
หากมีปัญหาเรื่องคุณภาพบริการจริง จะมีการส่งต่อข้อมูลให้กับ กทช. และคงต้องกลับมาดูเรื่องมาตรฐานการให้ข้อมูลผู้บริโภคด้วย ว่า...ไม่ใช่แค่ราคาคุย !!!
ช่วยกันคลิกเข้าไปเทสต์กันหน่อย แล้วอีก 3 เดือนมาดูกันว่า คุณภาพความเร็วอินเทอร์เน็ตบ้านเราเป็นอย่างไร !!!!.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น