DOS คำสั่ง DIR


คำสั่งยอดนิยมที่มีผู้ใช้กันอย่างแพร่หลายที่สุดในโลกของ DOS เห็นทีจะไม่พ้นคำสั่ง DIR  ซึ่งจะใช้แสดงรายการไฟล์ที่มีอยู่  คุณจะใช้คำสั่งนี้ในการค้นหาโปรแกรมหรือไฟล์ที่มีอยู่ไม่ว่าจะในแผ่นดิสก์หรือคอมพิวแตอร์  หากเกิดลืมหรือจดจำไม่ได้ว่า  ไฟล์ข้อมูลที่คุณทำเสร็จไปนั้นเก็บไว้ที่ใด  ใช้คำสั่ง DIR ค้นหาได้ทันที

หากต้องการดูรายการของไฟล์  พิมพ์ DIR ที่ดอสพรอมด์

C:\>DIR

หากรายการไฟล์ที่มีอยู่ยาวเหยียดจนมงตามไม่ทัน  จะหยุดหน้าจอให้แสดงผลทีละหน้าก็ทำได้โดยง่าย ดังนี้

C:\>DIR/P

จำง่ายๆ ว่า P = pause หรือหยุดไว้ชั่วคราวนั้นเอง

หากต้องการจะดูเพียงชื่อไฟล์หรือโฟล์เดอร์เท่านั้น  พิมพ์ดังนี้

C:\>DIR/W

ในกรณีเช่นนี้ W=wide  ซึ่ง DOS จะแสดงเฉพาะชื่อไฟล์หรือโฟล์เดอร์  เรียงเป็นแถวโดยไม่สนว่าจะเป็นใจส่วนประกอบอื่น เช่น วัน เวลา ขนาด  เป็นต้น

ถ้าหากต้องการจะดูไฟล์ที่อยู่ในไดรฟ์อื่นๆ ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนชื่อไดรฟ์แต่อย่างใด  สามารถพิมพ์ชื่อไดรฟ์นั้นตามหลังคำสั่ง DIR ได้เลย โดยจะเว้นวรรคขั้นกลาง ดังนี้

C:\>DIR D:

พิมพ์ DIR เว้นวรรคตามด้วย D:  นั่นคือการเรียกดูรายการไฟล์ที่อยู่ในไดรฟ์ D: ถ้าหากจะดูไฟล์ในไดฟ์ E: ก็แค่เปลี่ยนจาก D: ไปเป็น E เท่านั้นเอง


Citrio เว็บบราวเซอร์น่าลองพร้อมโหลดทอรเร้นต์ได้


ถ้าเราท่องเน็ต ดูยูทูป ชอบดาวน์โหลดโดยใช้เว็บบราวเซอร์โครมเป็นหลัก ผมว่าเราลองหันมาสนเว็บบราวเซอร์ที่ผมจะแนะนำนี้ครับ

Citrio browser มันเป็นเว็บบราวเซอร์ที่พัฒนามาจากโครมของกูเกิลนั้นแหละครับ ผู้พัฒนาได้เพิ่มฟีเจอร์เด่น ๆ ก็เรื่องการดาวน์โหลด มันสามารถดาวน์โหลดวีดีโอจากยูทูปและเว็บอื่น ๆ โดยไม่ต้องใช้โปรแกรมช่วยเลยครับ เมื่อเราเปิดเล่นวีดีโอยูทูป มันจะมีปุ่มเล็กเพื่อให้เราดาวน์โหลดวีดีโอที่กำลังชมอยู่น่ะครับ

และถ้าเราเป็นคนชอบโหลดบิทแล้วล่ะก็ Citrio browser ก็สามารถตอบโจทย์เราได้เป็นอย่างดี มีฟีเจอร์เป็น torrent client คือเป็นโปรแกรมดาวน์โหลดไฟล์ทอร์เร้นในตัวโดยไม่ต้องใช้โปรแกรมอื่น ๆ ติดตั้งอีกแล้วครับ

เทคโนโลยี Bluetooth ในอนาคต


ในอนาคต เทคโนโลยีBluetooth อาจจะเพิ่มความสามารถโดยการนำเอา Bluetooth บรรจุเข้าไปในโทรศัพท์มือถือ

การบริหารงานเทคโนโลยี (Technology Management)

เพิ่มการตั้งค่าอัตโนมัติของเทคโนโลยี Piconet โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์ Scatternet ซึ่งเป็นลักษณะทั่วๆไปสำหรับปัจจุบันนี้ ลักษณะเด่นนี้เป็นเทคโนโลยีที่ผู้ใช้งานไม่จำเป็นต้องมองเห็นFโดยเทคโนโลยีนี้อยู่ภายใต้ชื่อ “Just work”

 การเพิ่มประสิทธิภาพQoS (QoS improvements)

อาจมีการจะเพิ่มคุณภาพในการส่งข้อมูลในวิทยุและวีดีโอมากขึ้น

ลักษณะโดดเด่นของเทคโนโลยี Bluetooth แต่ละเวอร์ชั่น



Bluetooth 1.0

-Version 1.0และ1.0B>>Device address (BD-ADDR) ในการส่งข้อมูลผ่านการ Connecting (การส่งข้อมูลแบบนี้ยังมีปัญหาอยู่)

-Version 1.1>>เป็นการแก้ปัญหาที่พบใน Version 1.0B Non – encrypted Received Signal Strength Indicator (RSSI)

-Version 1.2>>มีการ Connection และ Discovery ได้เร็วขึ้น    มีการดัดแปลง frequency-hopping spread spectrum (AFH) โดยการปรับปรุงอุปสรรคของ radio frequency interference โดยการหลีกเลี่ยงการใช้ crowded frequency ใน hopping sequence.  และยังเพิ่มความเร็วในการสื่อสารสูงถึง 721 kbit/second ซึ่งสูงกว่าเวอร์ชั่น 1.1      มีการขยาย Synchronous Connection ซึ่งจะปรับปรุงคุณภาพเสียงด้วยการอนุญาตให้มีการสื่อสารอีกครั้งหาก packets ใด เสียหายหรือหลุดไป และ เพิ่ม Host Controller Interface(HCI) เพื่อรองรับ Three-wire UART. อีกทั้งยังได้รับการรับรอง IEEE Standard 802.15.1-2005 และยังเริ่มนำ Flow Control และ Retransmission Modes สำหรับ L2CAP.

ประโยชน์ของเทคโนโลยี Bluetooth


  คอมพิวเตอร์ กับ โทรศัพท์มือถือ  




หากเราต้องเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น พริ๊นเตอร์ คีย์บอร์ด เม้าท์ หรือลำโพง การเชื่อมต่อในปัจจุบัน ส่วนใหญ่จะใช้สายเคเบิ้ลเป็นตัวเชื่อมต่อทั้งหมด (Serial และ USB) ซึ่งอาจจะไม่สะดวกทั้งในด้านการใช้สอย เคลื่อนย้าย และความเรียบร้อยต่างๆ แต่หากเครื่อง PC มีอุปกรณ์ Bluetooth ก็สามารถติอต่อเข้าหากันได้โดยใช้คลื่นแทนการใช้สายไฟเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆ ทั้งหมด ทั้งการส่งไฟล์ภาพ, เสียง, ข้อมูล อีกทั้งระบบเชื่อมต่อผ่าน CSD และ GPRS บนโทรศัพท์มือถือ ก็สามารถทำได้โดยไม่จำเป็นต้องใช้สาย ซึ่งจะช่วยลดความยุ่งยาก อีกทั้งยังเพิ่มความสะดวกสบายในการทำงานมากขึ้นด้วย

แต่ข้อจำกัดการใช้งานก็มีเช่นกัน การเชื่อมต่ออุปกรณ์พกพาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์โน็ตบุ๊ค หรือ พ็อกเก็ต พีซี เข้ากับอินเทอร์เน็ต จะสามารถใช้งานได้เพียง 1 อุปกรณ์ ต่อ 1 ชิ้นเท่านั้น ซึ่งบางทีอาจจะต้องสลับการใช้งานกันบ่อยๆ (สำหรับผู้ที่ใช้อุปกรณ์ไร้สายซะส่วนใหญ่) แต่ก็ถือว่าให้ความสะดวกมากกว่าการใช้สายเคเบิ้ล

ระบบการทำงานของ Bluetooth



      Bluetooth จะใช้สัญญาณวิทยุความถี่สูง 2.4 GHz. แต่จะแยกย่อยออกไป ตามแต่ละประเทศ อย่างในแถบยุโรปและอเมริกา จะใช้ช่วง 2.400 ถึง 2.4835 GHz. แบ่งออกเป็น 79 ช่องสัญญาณ และจะใช้ช่องสัญญาณที่แบ่งนี้ เพื่อส่งข้อมูลสลับช่องไปมา 1,600 ครั้งต่อ 1 วินาที ส่วนที่ญี่ปุ่นจะใช้ความถี่ 2.402 ถึง 2.480 GHz. แบ่งออกเป็น 23 ช่อง ระยะทำการของ Bluetooth จะอยู่ที่ 5-10 เมตร โดยมีระบบป้องกันโดยใช้การป้อนรหัสก่อนการเชื่อมต่อ และ ป้องกันการดักสัญญาณระหว่างสื่อสาร โดยระบบจะสลับช่องสัญญาณไปมา จะมีความสามารถในการเลือกเปลี่ยนความถี่ที่ใช้ในการติดต่อเองอัตโนมัติ โดยที่ไม่จำเป็นต้องเรียงตามหมายเลขช่อง ทำให้การดักฟังหรือลักลอบขโมยข้อมูลทำได้ยากขึ้น   

ความเป็นมา และต้นกำเนิด ของ Bluetooth

ความเป็นมา Bluetooth


คำว่า “บลูทูธ” เป็นความจริงแล้วเป็นชื่อของกษัตริย์ประเทศเดนมาร์ก ที่มีชื่อว่า “Harald  Bluetooth” ซึ้งในช่วงปี ค.ศ. 940-981 หรือประมาณ 1,000 กว่าปีก่อนหน้า กษัตริย์องค์นี้ได้ปกครองประเทศเดนมาร์กและนอร์เวย์ในยุคของไวกิ้งค์ และต้องการรวมประเทศให้เป็นหนึ่งเดียว นอกจากนั้นยังทรงเป็นผู้เอาศาสนาคริสต์เข้าสู่ประเทศเดนมาร์กอีกด้วย และเพื่อเป็นการรำลึกถึงกษัตริย์ Bluetooth ผู้ครองประเทศกลุ่มสแกนดิเนเวีย ซึ้งในปัจจุบันเป็นกลุ่มผู้นำในด้านการผลิตโทรศัพท์มือถือป้อนสู่ตลาดโลก และระบบ Bluetooth นี้ ก็ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อใช้กับโทรศัพท์มือถือ และเริ่มต้นจากประเทศในแถบนี้ด้วยเช่นกัน

ความหมายของเทคโนโลยี Bluetooth และ Bluetooth Logo

Bluetooth คืออะไร




            บลูทูธ (Bluetooth) คือ ระบบการสื่อสารของอุปกรณ์อิเล็กโทนิคแบบสองทาง ที่ใช้เทคนิคการส่งคลื่นวิทยุระยะสั้น (Short-Range Radio Links) เป็นสื่อกลางในการติดต่อสื่อสาร ระหว่างอุปกรณ์ต่างชนิดกัน โดยปราศจากการใช้สายเคเบิ้ล หรือ สายสัญญาณเชื่อมต่อ และไม่จำเป็นต้องใช้การเดินทางแบบเส้นตรงเหมือนกับอินฟราเรด ซึ้งถือว่าเพิ่มความสะดวกมากกว่าการเชื่อมต่อแบบอินฟราเรด ที่เชื่อมต่อระหว่างโทรศัพท์มือถือ กับอุปกรณ์ ในโทรศัพท์เคลื่อนที่รุ่นก่อนๆ โดยปัจจุบัน ระบบ บลูทูธได้เข้ามาช่วยทำให้การส่งถ่ายข้อมูลที่เป็นภาพ เสียง สะดวกยิ่งขึ้น